คุณคงจะได้ยินหลายคนบ่นปวดข้อ ปวดกระดูกอยู่บ่อย ๆ คุณทราบถึงสาเหตุนั่นหรือไม่?
ช่วงอายุ 25 - 35 เป็นช่วงที่กระดูกจะมีความแข็งแรงที่สุด ในขณะที่คุณอายุมากขึ้นความแข็งแรงของกระดูกก็จะค่อยๆ ลดลง คุณจำเป็นต้องดูแลกระดูกของคุณด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
อาหารขยะ (Junk Food)

จาก สถิติพบว่า การมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควร ทำให้กระดูกเสื่อม การอดอาหารมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายได้รับไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นผลให้ประจำเดือนขาดหายไป และเป็นผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนอื่นๆที่ผลิตในรังไข่มีปริมาณ ลดลง ฮอร์โมนเหล่านี้จำเป็นต่อการรักษาระดับความหนาแน่นของกระดูก คุณจึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอุดมไปด้วยแคลเซียม
เครื่องดื่มที่มีฟองฟู่ (Fizzy Drink)

เครื่องดื่มพวกคาร์บอเนตจะผสมกรดฟอสฟอริก ซึ่งสามารถทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เพราะดึงเอาแคลเซียมออกมา ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทมีฟองที่ผสมด้วยคาเฟอีนด้วย เพราะคาเฟอีนจะทำให้แคลเซียมดูดซึมได้น้อยลง และเลือกดื่มแต่เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อกระดูก เช่น นมไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง โยเกิร์ตปั่น
โปรตีนมากเกินไป

โปรตีน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนสึกหรอกของร่างกาย แต่โปรตีนจากสัตว์มีผลเสียต่อความหนาแน่นของกระดูก ด้วยการเพิ่มความเป็นกรดในเลือด โปรตีนทำให้ร่างกายคุณ 'ขโมย' แคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อทำให้กรดเหล่านั้นมีความเป็นกลางเพิ่มขึ้น
สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่จะทำให้แคลเซียมดูด ซึมได้น้อยลง และลดปริมาณของเอสโตรเจนนิโคตินจะไปขัดขวางออกซิเจนที่ไปเลี้ยงกระดูก และมีผลเป็นพิษต่อเซลล์กระดูกและมันยังทำให้เซลล์ที่ใช้ในการสร้างกระดูก (ออสติโอบลาส) มีการผลิตที่ช้าลง รวมทั้งยับยั้งขบวนการต่างๆของกระดูกด้วย จากการศึกษาพบว่า กระดูกของพวกที่สูบบุหรี่มีคุณสมบัติทางไบโอเคมีด้อยกว่ากระดูกของพวกที่ไม่ สูบบุหรี่ ดังนั้นมันจึงหักง่าย การดื่มไวน์มากกว่าสองแก้วต่อวันก็สามารถทำให้กระดูกของคุณเปราะบางได้
ชีวิตที่เคร่งเครียด

เพื่อที่จะต่อสู้กับความเครียด ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นในรูปของน้ำตาลกลูโคส ดังนั้นมันจึงปล่อยฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอลออกมา 'คอร์ติซอลทำให้กล้ามเนื้อของคุณปลดปล่อยโปรตีนออกมากเพื่อใช้ในการผลิต กลูโคส' สิ่งนี้จะนำไปสู่การที่กล้ามเนื้อค่อยๆเล็กลงและทำให้มีการสูญเสียแร่ธาตุ ของกระดูก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลดระดับความเครียดลง และออกกำลังกายช่วย
ยาบางชนิด

ยาบางอย่างรบกวนการดูดซึมของแคลเซียม ซึ่งได้แก่ยาขับปัสสาวะ ยาแก้อักเสบที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ ยารักษาโรคหืดหอบที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ และยาปฎิชีววนะหลายชนิด การที่รับประทานยาตัวใหม่ๆให้หาดูว่ามันจะรบกวนการดูดซึมของแคลเซียมหรือไม่ ถ้าใช่ และคุณก็จำเป็นต้องใช้ ให้ปรึกษาแพทย์ดูว่าคุณจะหาอะไรที่ดีที่สุดแทนได้บ้าง
Source : oknation.net
newimage นมเหลืองจากนิวซีแลนด์ เพิ่มความสูง บำบัดภูมิแพ้ เสริมภูมิให้ร่างกาย เพิ่มกล้ามเนื้อ เสริมแคลเซี่ยมให้กระดูก